Hyper Personalization เสริฟสิ่งที่ใช่ ในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม

เสิร์ฟสิ่งที่ใช่ในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม เพราะความเป็นส่วนตัว เส้นบางๆระหว่างรู้ใจกับรุกล้ำ Hyper Personalization ตรงกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจความต้องการ 



Cultural Soft Power

อำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม คือ การ 'ขาย' วัฒนธรรมของชาติหนึ่งไปยังกลุ่มประชากรหรือประเทศอื่นที่ไม่ใช่ของตนเอง ผู้บริโภคจะได้ตระหนักและสัมผัสกับความคิด ค่านิยม รสชาติ รูปแบบ และอัตลักษณ์อาหารของวัฒนธรรมอื่น แม้ว่า อาจจะไม่เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ เหล่านี้ก็ตาม 

อาหารถูกใช้เป็น Cultural Soft Power เมื่ออาหารจากต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรมปรากฏขึ้น เราจะรู้สึกตื่นเต้น เห็นถึงความ Exotic ความแปลกใหม่ของอาหารนั้น จนอยากชิม ลิ้มรสสัมผัส จนกระทั่ง ผู้คนเริ่มรับประทาน หรือบริโภคอาหารนั้นอย่างแพร่หลายเป็นประจำ

เมื่อเวลาผ่านไป อาหารที่เสมือนสัญลักษณ์ของ Soft Power นั้น จากการที่เป็น Cultural Propaganda โฆษณาทางวัฒนธรรม ก็ค่อยๆ blend ผสมผสานกับท้องถิ่นทำให้เกิดความไว้วางใจและความคุ้นเคย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นที่ยอมรับในคนหมู่มาก หรือ Democratic Change นั่นเอง

แท้จริงแล้วชุมชนสามารถสร้างงานและมีรายได้เพิ่มจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้ง เกษตรกรรมค้าขายและท่องเที่ยวได้ เนื่องจากชุมชนมีจุดแข็งของศักยภาพด้านปัจจัยการผลิต มีแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมทั้งคนในชุมชนมีความเข้มแข็งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


การทำ Hyper Personalization นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้จะไม่มีขั้นตอนการทำที่แน่ชัด ด้วยข้อมูลที่มีจำนวนมากและบางทีอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันได้ อาจจะทำให้ยุ่งยากกว่าการทำการตลาดแบบปกติ แต่สุดท้ายแล้วการมีข้อมูลและรู้จักลูกค้าของเรามากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นเรื่องดี แถมยังช่วยให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ


Starbuck แบรนด์กาแฟระดับโลกที่ไม่เคยห่างเหิน Storytelling

Case Study ของ Starbucks ลูกผสมระหว่างนางเงือกในตำนาน ปลาและนก แบรนด์กาแฟที่ไม่ได้มีเป้าหมายขายกาแฟ แต่พวกเขาขายไลฟ์สไตล์ของผู้คน สตาร์บัคส์ สามารถสร้างปรากฎการณ์ เป็น Third place ได้อย่างไม่น่าประหลาดใจ สถานที่ที่แสนจะผ่อนคลาย ให้แรงบันดาลใจ นั่งเล่นเพลินๆ ก็ดี เรียกได้ว่า สามารถหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของเราได้เลย


การเป็นพื้นที่สำหรับทุกคน ที่ที่เปรียบเสมือนที่ทุกคนต้องมา จึงไม่แปลกใจที่พนักงาน Starbucks จะจำชื่อลูกค้าหรือแม้กระทั่งเมนูที่ลูกค้าชอบสั่งได้ การเขียนชื่อบนแก้ว ก็เป็นอีก กิมมิค ที่สร้างความประทับใจและเพิ่มมูลต่าและแฟนคลับให้กับแบรนด์



การทำ Hyper-Personalization ของ Starbuck ยังพัฒนาผ่านแอปพลิเคชันแนะนำอาหารและเครื่องดื่ม มาจากการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการซื้อย้อนหลังออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละคน ทำให้เวลาลูกค้าเปิดแอปพลิเคชัน ขึ้นมาจะเห็นเมนูแนะนำที่ถูกอกถูกใจอยู่เสมอ นอกจากนี้ Starbucks ยังมีการส่งการแจ้งเตือน ไปหาลูกค้า VIP ในกรณีที่ลูกค้าอยู่ใกล้สาขาที่สามารถสั่งกาแฟและจ่ายผ่านมือถือได้ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องเดินผ่านหน้าร้าน


การที่ Starbucks ใช้การตลาดแบบ Hyper-Personalization ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม 3 เท่า และมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน ทางมือถือ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อในอนาคต


ใช้ Data ในวันนี้ เพื่อเก็บ Data ต่อสำหรับอนาคต 

การสร้างความเข้าใจและนำเสนอคอนเท้นท์และประสบการณ์แก่ลูกค้าในแต่ละ Segment – อีกหนึ่งความสำคัญของการทำ Personalized Marketing ให้ประสบความสำเร็จ คือความเข้าใจความต้องการของลูกค้า และนำเสนอเนื้อหา และสินค้าทีถูกต้องและตรงกับความสนใจของลูกค้ารายบุคคล ซึ่งจะต้องเริ่มจากการเก็บดาต้า ทำความเข้าใจ และดีไซน์การนำเสนอ content ที่ตรงกับ profile ของลูกค้ารายบุคคล ในทุกๆช่องทาง และรวมถึงการทำ segmentation (การแบ่งกลุ่มประเภทและความสนใจของลูกค้าในแต่ละ segment) ที่ถูกต้องถูกกลุ่ม ตามแต่ละประเภท ดังนั้น การสร้างภาพความต้องการของลูกค้าในภาพเดียว และออกแบบการนำเสนอ content ที่ใช่ และบนแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย


ศูนย์อาหารล้านรวมแซ่บ มากกว่า ศูนย์อาหาร แต่คือ สถานที่พักผ่อน ตอบโจทย์ Wellnes  Tourism 

นักท่องเที่ยวลงจากเครื่อง หรือ ญาติผู้ป่วยระดับ Hi-End  รวมทั้งคุณหมอได้รู้สึกผ่อนคลายท่ามกลางความคับคั่งของผู้ป่วย รวมทั้งปลีกวิเวกจากการทำงาน


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น